เหรียญหล่อพิมพ์จอบเล็กหลวงพ่อเงิน




เหรียญหล่อพิมพ์จอบเล็กหลวงพ่อเงิน พุทธโชติ วัดบางคลาน เป็นเหรียญหล่อคณาจารย์
ที่มีราคาแพงที่สุดในประเภทเหรียญหล่อซึ่งเป็นรองแค่พิมพ์จอบใหญ่เท่านั้น เหรียญหล่อพิมพ์จอบเล็กเป็นเหรียญหล่อที่มีรายละเอียดเฉพาะด้านหน้าด้านเดียว ส่วนด้านหลัง
จะเรียบหรือในบางองค์จะเห็นเป็นรอยคล้ายแบบพิมพ์ก็มีซึ่งในส่วนนี้พบเห็นน้อยมาก –
(รอยแบบพิมพ์นี้เกิดจากในขณะที่ตีหุ่นเทียนแล้วช่างรีดขี้ผึ้งกดหุ่นแรง จึงเกิดรอยยุบตัว-
ไปตามพิมพ์ด้านหน้า)ในบางองค์อาจมีรอยนิ้วมือปรากฏก็เนื่องจากการกดหุ่นเทียนของช่าง กระบวนการสร้างเหรียญหล่อพิมพ์จอบเล็กหรือพิมพ์จอบใหญ่ ช่างจะทำการสร้าง-แบบพิมพ์หรือบล็อก ซึ่งแบบพิมพ์นี้เป็นแบบพิมพ์ด้านเดียว ในเหรียญหล่อพิมพ์จอบเล็กนี้มีอยู่ด้วยกันถึง ๔ แม่พิมพ์ด้วยกันคือ
๑.     พิมพ์แข้งติด หรือพิมพ์แข้งชิด แบบพิมพ์นี้ให้สังเกตใต้ฝ่าเท้าซ้ายจะมีเนื้อเกินเชื่อมกับริ้วจีวรหน้าแข้งขวาและช่วงกึ่งกลางหน้าแข้งซ้ายจะมีเนื้อเกินเชื่อมติดกับขอบฐาน(เส้นนี้ส่วนใหญ่จะมีแต่ก็เคยพบที่ตำแหน่งนี้ไม่ติดก็มี) และเส้นสังฆาฏิช่วงหัวไหล่ซ้ายจะเป็นเส้นซ้อนคล้ายปากตะขาบ
๒.    พิมพ์แข้งตรง ปลายเท้าซ้ายหลวงพ่อจะตรงขนานกับหัวเข่าขวา และเหนือข้อศอกขวาหลวงพ่อจะมีเนื้อเกินเป็นเม็ดเล็กน้อย
๓.    พิมพ์ปลายเท้ากระดก ให้สังเกตเท้าซ้ายหลวงพ่อจะเห็นคล้ายส้นเท้าและปลายเท้า-นิ้วเท้าซ้ายจะกระดกขึ้นเล็กน้อยและบริเวณหัวเข่าขวาหลวงพ่อจะมีเม็ดเนื้อเกินอยู่ติดกับขอบฐาน(ส่วนใหญ่จะมีแต่ก็มีบางองค์ที่แท้แต่จุดนี้ไม่ติด)
๔.    พิมพ์ตาขีด พิมพ์นี้ให้สังเกตนัยน์ตาซ้ายหลวงพ่อจะยาวคล้ายเม็ดข้าวติดดั้งจมูกและ
ช่วงแขนขวาบริเวณซอกรักแร้จะมีเส้นนูน ๒ เส้นเชื่อมติดกับองค์หลวงพ่อและช่วงปลายเท้าซ้ายหลวงพ่อจะเอียงชิดขอบฐาน
ทั้ง ๔ แบบพิมพ์จะเป็นพระเทหล่อเข้าช่อชนวนบริเวณกึ่งกลางฐานด้านล่างและหูเหรียญด้านหลังจะเห็นเป็นรอยคล้ายปากปลิงเพราะเกิดจากการม้วนหูเหรียญในขณะที่เป็นหุ่นเทียนช่วงปลายก้านหูเหรียญจะถูกละลายด้วยความร้อนเพื่อเชื่อมติดเข้าหลังเหรียญจึงเกิดเป็นเนื้อล้นคล้ายปากปลิง
และนี่คือความเป็นมาของเหรียญหล่อพิมพ์จอบเล็กหลวงพ่อเงิน เหรียญหล่อพิมพ์จอบเล็กและพิมพ์จอบใหญ่เชื่อกันว่าสร้างพร้อมรูปหล่อหลวงพ่อเงิน พิมพ์นิยมและเท่าที่พบเห็นเหรียญหล่อนี้จะเป็นเนื้อทองผสมแต่กล่าวกันว่ามีอีกส่วนหนึ่งซึ่งทางช่างเทหล่อได้กราบขออนุญาตหลวงพ่อเงินเทเป็นเนื้อเงินเพื่อไว้สักการะบูชากันเองแต่ก็มีจำนวนน้อยมากแทบไม่มีการพบเห็น เช่นเดียวกับการพิจารณาพระหล่อทั่วไปคือต้องจดจำพิมพ์รายละเอียดให้ได้และประการสำคัญคือต้องรู้ว่าพระแท้ต้องเทหล่อด้วยดินไทยปรากฏดินเบ้าให้เห็นเป็นส่วนประกอบครับ


1.            ใต้ฝ่าเท้าซ้ายจะมีเนื้อเกินเชื่อมกับริ้วจีวรหน้าแข้งขวา
2.            ช่วงกึ่งกลางหน้าแข้งซ้ายจะมีเนื้อเกินเชื่อมติดกับขอบฐาน(เส้นนี้ส่วนใหญ่จะมีแต่ก็เคยพบที่ตำแหน่งนี้ไม่ติดก็มี)
3.            เส้นสังฆาฏิช่วงหัวไหล่ซ้ายจะเป็นเส้นซ้อนคล้ายปากตะขาบ
4.            หูเหรียญด้านหลังจะเห็นเป็นรอยคล้ายปากปลิง
                                    
1.            ปลายเท้าซ้ายหลวงพ่อจะตรงขนานกับหัวเข่าขวา
2.            เหนือข้อศอกขวาหลวงพ่อจะมีเนื้อเกินเป็นเม็ดเล็กน้อย
3.            หูเหรียญด้านหลังจะเห็นเป็นรอยคล้ายปากปลิง



1.           เท้าซ้ายหลวงพ่อจะเห็นคล้ายส้นเท้าและปลายเท้านิ้วเท้าซ้ายจะกระดกขึ้นเล็กน้อย
2.            บริเวณหัวเข่าขวาหลวงพ่อจะมีเม็ดเนื้อเกินอยู่ติดกับขอบฐาน(ส่วนใหญ่จะมีแต่ก็มีบางองค์ที่แท้แต่จุดนี้ไม่ติด)

1.            นัยน์ตาซ้ายหลวงพ่อจะยาวคล้ายเม็ดข้าวติดดั้งจมูก
2.            ช่วงแขนขวาบริเวณซอกรักแร้จะมีเส้นนูน ๒ เส้นเชื่อมติดกับองค์หลวงพ่อ
3.            ปลายเท้าซ้ายหลวงพ่อจะเอียงชิดขอบฐาน
4.            หูเหรียญด้านหลังจะเห็นเป็นรอยคล้ายปากปลิง


Post a Comment

Previous Post Next Post