พระเครื่องของหลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก


 พระเครื่องของหลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก เท่าที่มีหลักฐานแน่ชัดมีเพียง 2 รุ่นเท่านั้น และเป็นเหรียญหล่อโบราณ


        
  เหรียญหล่อรุ่นแรก หลวงพ่อได้จัดพิธีเทหล่อที่วัดพะเนียงแตก ส่วนหนึ่งได้นำออกช่วงงานฝังลูกนิมิตที่วัดบางหลวง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ซึ่งงานฝังลูกนิมิตนี้หลวงพ่อมานั่งเป็นประธานในงาน และชาวบ้านที่มาเที่ยวงานทำบุญ 1 บาท ก็จะได้เหรียญหล่อรุ่นแรก 1 องค์ เหรียญหล่อรุ่นแรกนี้สร้างประมานปี พ.ศ.2440







          เหรียญหล่อรุ่นแรกนี้เป็นเหรียญหล่อโบราณ เนื้อขันลงหินแก่ทองแดง เป็นพิมพ์รูปพระพุทธนั่งขัดสมาธิในซุ้มเรือนแก้ว และมีต้นโพธิ์ขึ้นเหนือปกคลุมซุ้ม ดูเสมือนเป็นภาพสามมิติ แสดงถึงความสามารถของช่างแกะแม่พิมพ์ (น่าจะเป็นช่างหลวง)  เป็นเหรียญหล่อโบราณที่เก่าที่สุด และสวยงามที่สุดในยุคนั้น  เหรียญรุ่นแรกนี้นับได้ว่าเป็นเหรียญที่มีประสบการณ์สูงมาก และเป็นเหรียญที่สร้างชื่อเสียงให้กับหลวงพ่อทามากที่สุด จนถึงขนาดมีนักประพันธ์เอาไปเขียนเป็นนวนิยายเรื่อง"พะเนียงแตก" ซึ่งในเนื้อเรื่ิองได้กล่าวถึงเหรียญรุ่นแรกนี้ว่ามีคุณวิเศษทางด้านคงกระพันชาตรีเป็นเลิศ นับว่าเป็นเหรียญที่สวยที่สุดและดีที่สุดที่หลวงพ่อทาได้สร้างขึ้นมา ในอดีตนักสะสมพระเครื่องชาวจังหวัดพิจิตรหวงแหนเหรียญรุ่นแรกวัดพะเนียงแตกมากกว่าเหรียญจอบเล็กและจอบใหญ่ของหลวงพ่อเงิน บางคลานค่านิยมเหรียญหล่อรุ่นแรกองค์สวยแชมป์เล่นหากันถึงหลายล้านบาท(ราคาล่าสุดขาย ๕ ล้านบาท) จึงเป็นพระเครื่องที่มีค่านิยมสูงสุดของจังหวัดนครปฐมและมีราคาสูงสุดของจังหวัดนครปฐม จำนวนเหรียญหลักร้อยไม่ถึงหนึ่งพันเหรียญ















รุ่นแรก


           ส่วนเหรียญหล่อรุ่นสอง ทำพิธีเทหล่อที่วัดพะเนียงแตก สร้างประมาณ พ.ศ.2450 เหรียญรุ่นสองนี้สร้างจำนวนมากกว่าเหรียญรุ่นแรก เนื้อเหรียญรุ่นสองจะออกกระแสเหลืองคล้ายทองฝาบาตร(เหรียญรุ่นแรกเนื้อจะสูงกว่าเหรียญรุ่นสอง) จากการบอกเล่าของคุณตาเปลื้อง อดีตมรรคนายกวัดหนองเสือได้เล่าให้ผู้เขียนเมื่อปีพ.ศ.๒๕๒๕ ขณะนั้นท่านอายุได้ ประมาณ ๘๕ ปีว่า ""    ญาติของท่านที่เป็นศิษย์หลวงพ่อคำวัดหนองเสือ เคยได้รับเหรียญรุ่นสองจากหลวงพ่อคำวัดหนองเสือ หลวงพ่อคำมรณภาพเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๔๕๖ อายุประมาน ๘๐ กว่าพรรษาร่วม๙๐พรรษา และหลวงพ่อทาได้ไปในงานศพของหลวงพ่อคำด้วย และท่านได้เดินนำศพหลวงพ่อคำด้วย " ค่านิยมองค์สวยแชมป์รุ่นสองเล่นหากันถึงหลักหลายแสนถึงล้าน(ราคาต่ำกว่าของเหรียญรุ่นแรกหนึ่งเท่าถึงสองเท่า)
          เหรียญหล่อรุ่นสอง นอกจากจะสร้างในสมัยที่หลวงพ่อทาท่านมีชีวิตอยู่ดังได้กล่าวมาแล้วแต่ข้างต้น  ได้มีท่านผู้รู้ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่า ภายหลังจากที่หลวงพ่อทามรณภาพในปี พ.ศ.๒๔๕๙ ก็ได้มีการสร้างเหรียญหล่อรุ่นสองขึ้นอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ.๒๔๖๓หรือ๖๔ โดยจ้างช่างที่บ้านช่างหล่อ พรานนก เขตบางกอกน้อย ฝั่งธนบุรีชื่อช่างแช่ม ชื่นจิตต์ต่อมาได้เป็นช่างประจำตัวพระธรรมวโรดม(โชติ)อดีตเจ้าอาวาสวัดพระปฐมเจดีย์ ถ้าข้อมูลนี้เป็นความจริง(ขอให้อยู่ในดลยพินิจของท่านผู้อ่าน) ผู้เขียนเข้าใจว่า การสร้างเหรียญหล่อรุ่นสองครั้งนี้ น่าจะสร้างขึ้นเพื่อหาปัจจัยเป็นค่าใช้จ่ายในการสร้างรูปหล่อเหมือนเท่าองค์จริงของหลวงพ่อทา ปี พ.ศ.๒๔๖๔(เหรียญหล่อรุ่นสองครั้งนี้น่าจะสร้างพร้อมกับรูปหล่อเท่าองค์จริงปี พ.ศ.๒๔๖๔)  แต่ทั้งนี้ก็เป็นเพียงข้อสันนิฐาน
         



เหรียญหล่อวัดพะเนียงแตก รุ่นสอง มีหู



รุ่นสององค์นี้ตบแต่งหน้า

เหรียญหล่อวัดพะเนียงแตก รุ่นสอง ไม่มีหู

            เหรีญหล่อโบราณทั้งสองรุ่นนี้มีคุณวิเศษทางอยู่ยงคงกระพันชาตรี มหาอุต และแคล้วคลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหรียญหล่อรุ่นแรกนั้นมีประสบการณ์มากที่สุด จนนักสะสมพระเครื่องเข้าใจผิดว่าดีทางคงกระพันชาตรี มหาอุดและแคล้วคลาดเท่านั้น ความจริงแล้ว ทางเมตตามหานิยม และโชคลาภ ก็มีผู้พบประสบการณ์อย่างมากมายเรียกว่าเป็นหนึ่งไม่เป็นสองรองใคร

            ลำดับเจ้าอาวาสวัดพะเนียงแตก
               1. หลวงพ่อทา
               2. พระปลัดหงิม
               3. พระอาจารย์บัวลอย(พ.ศ.๒๔๗๙-๒๔๘๙)
               4. พระอาจารย์ชื้น(พ.ศ.๒๔๘๙-๒๔๙๘)
               5. พระมหาสมบูรณ์(พ.ศ.๒๔๙๘-๒๕๐๒)
               6. พระอาจารย์ประยงค์(ย้ง)  ปฏิกาโร(พ.ศ.๒๕๐๒-๒๕๓๖)
               7. พระอาจารย์ทองคำ(พ.ศ.๒๕๓๘ จนถึงปัจจุบัน)

           บทความนี้ถ้าจะก่อประโยชน์แก่ท่านผู้อ่าน ก็ขอมอบความดีนี้ให้แด่ อาจารย์
สุปรีชา  ศรีสุวราภรณ์ (ครูโอ) อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนวัดลาดปลาเค้า   และ คุณเทพ สุนทรศาลทูล



พระปิดตา กรุลั่นทม วัดพะเนียงแตก


พระปิดตา กรุลั่นทม วัดพะเนียงแตก


พระนาง กรุลั่นทม วัดพะเนียงแตก


             พระปิดตาและพระนางเนื้อผงขาว กรุลั่นทม วัดพะเนียงแตก แตกกรุเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2498 โดยต้นลั่นทมได้ขึ้นเบียดพระเจดีย์เก่าแตก ขณะแตกกรุใหม่ๆนักสะสมพระเครื่องเชื่อว่าเป็นของหลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก แต่เมื่อปีพ.ศ.๒๕๒๘ ครูวีระ เทพาธิปอายุท่านขณะนั้นประมาณ ๗๐ กว่าปีได้เล่าให้ผู้เขียนฟังว่าเป็นพระของหลวงพ่อวงษ์ วัดทุ่งผักกูด ท่านสร้างไว้ในยุคต้นๆของท่าน(เรื่องนี้ขอให้อยู่ในดุลยพินิจของท่านผู้อ่านหรือนักเขียนในยุคหลังที่จะศึกษาค้นคว้าต่อไป) หลวงพ่อวงษ์นอกจากท่านจะเป็นศิษย์เอกของหลวงพ่อทาแล้ว ท่านยังได้ไปศึกษาการเขียนผงพุทธคุณที่วัดระฆัง นอกจากนี้พระปิดตากรุลั่นทม บางท่านที่เป็นศิษย์หลวงพ่อพูน วัดใหม่ปิ่นเกลียวเคยได้รับจากมือหลวงพ่อพูน วัดใหม่ปิ่นเกลียว พระปิดตากรุลั่นทมได้มีการจำหน่ายในราคาองค์ละ ๕,๐๐๐ บาท
             
เหรียญหล่อโบราณพระอาจารย์ชื้น


เนื้อแร่


เนื้อทองผสม

           เหรียญหล่อโบราณพระอาจารย์ชื้น ซึ่งนักสะสมพระเครื้่องมักเข้าใจผิดว่าอาจารย์ชื้นเป็นผู้สร้าง ความจริงแล้วเป็นเหรียญที่อาจารย์ชื้นพบในบาตรขณะเป็นเจ้าอาวาสวัดพะเนียงแตก และได้ทำการแจกแก่ประชาชนที่มาร่วมทำบุญ เหรียญหล่อรุ่นนี้เป็นเหรียญหล่อเก่าแก่ที่มีอายุการสร้าง สันนิษฐานว่าเป็นเหรียญที่สร้างในสมัยพระปลัดหงิมเป็นเจ้าอาวาส ( ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๗๐ กว่า ) อาจารย์ที่ร่วมพิธีพุทธาภิเษกได้แก่ หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง หลวงพ่อวงษ์ วัดทุ่งผักกูด หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่ามและท่านอื่น ๆ


เหรียญพระปลัดหงิม

           เหรียญพระปลัดหงิมนี้เป็นเหรียญที่แจกในงานปลงศพพระปลัดหงิม ปี พ.ศ. ๒๔๘๒ ( เหรียญตาย ) พระปลัดหงิมเป็นพระเกจิอาจารย์ที่แก่กล้าวิชาอาคมรูปหนึ่ง ท่านเป็นศิษย์หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก และเป็นเจ้าอาวาสต่อจากหลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก


เหรียญหลวงพ่อทา รูปดอกจิก รุ่นแรก(เหรียญตาย)ปี๒๔๘๔

           เหรียญรูปดอกจิกหลวงพ่อทาวัดพะเนียงแตกนี้ สร้างในสมัยพระอาจารย์บัวลอยเป็นเจ้าอาวาส ประมาณปี พ.ศ.๒๔๘๔ กว่าสร้างหลังเหรียญพระปลัดหงิมปี๒๔๘๒


เหรียญเสมา หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก รุ่นแรก สระ อะ บนตัวเดียว ปี พ.ศ. ๒๕๐๒
ปลุกเสกโดยหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม 
และพระอาจารย์แดง พระธุดงค์ พระรุ่นนี้ปลุกเสกสองครั้ง ครั้งที่หนึ่ง ปี พ.ศ. ๒๕๐๒ ครั้งที่สอง ปี พ.ศ. ๒๕๑๐ ( พิธีฝังลูกนิมิต )

Post a Comment

Previous Post Next Post